วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แบบสอบถามออนไลน์

บรรยากาศของโฮมสเตย์


บรรยากาศของโฮมสเตย์





ลักษณะที่พัก  เป็นบ้านเดี่ยวสองชั้น ชั้นบนทำจากไม้ชั้นล่างทำด้วยปูนซีเมนต์ มีความกะทัดรัดกะทัดรัด มีลานสนามหญ้ากว้าง มีศาลาและท่าน้ำอยู่ติดบริเวณแม่น้ำลำคลอง ซึ่งร่มรื่นน่าอยู่มีต้นไม้เป็นจำนวนมากจึงทำให้บริเวณบ้านมีความร่มรื่นเงียบสงบ





 โฮมสเตย์แห่งนี้เป็นของคุณป้าดลพร ชูเพ็ญหรือป้าหนิง ซึ่งโฮมสเตย์แห่งนี้มีจุดประสงค์คือ ต้องการให้นักท่องเที่ยวได้มาเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวในบาง โฮมสเตย์แห่งนี้อนุรักษ์ความเป็นอยู่ของคนในบาง โดยมีกฏระเบียบคือนักท่องเที่ยวต้องมีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ ไม่ทำลายบรรยากาศ ซึ่งความเป็นอยู่ของคนในบางจะมีความเรียบง่าย



    คุณป้าดลพรเสริมว่า นักท่องเที่ยวจะมีประมาณเดือนละ1-2กลุ่ม เป็นรอบๆ โดยพักอยู่ชั้นบนเหมือนกับครอบครัวของป้าหนิง เพื่อความสนิทสนมได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งโฮมสเตย์หนึ่งหลังจะเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 7-10คน เพื่อเป็นการกระจายรายได้ ให้กับโฮมสเตย์แต่ละหลังด้วย

 บริเวณลำคลองหน้าบ้านซึ่งถ่ายจากศาลาริมคลอง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเงียบสงบและเป็นธรรมชาติ ในการทำท่องเที่ยวนี้ไม่ได้คาดหวังกำไร แต่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณี ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นคนต่างจังหวัด ฝรั่งและ นักเรียนนักศึกษา


     ซึ่งนักท่องเที่ยวจะพักกันข้างบนบ้าน โดยจะกางมุ้งบ้างหรือเปิดพัดลมแล้วแต่ความต้องการของนักเที่ยว บ้างก็เรียงหมอนนอนปูเสื่อ ซึ่งจะทำการพูดคุยกันในเรื่องราวประสบการณ์ชีวิตต่างๆ  ภายในตัวบ้านชั้นบนที่เป็นที่พักของป้าดลพรและนักท่องเที่ยวนั้น ปูพื้นด้วยเสื่อน้ำมัน มีการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้อย่างเป็นระเบียบ มีระเบียงหน้าบ้านอีกด้วย



ประตูไม้หน้าบ้านชั้นบน ได้มีการแกะสลักบานประตูด้วยความสวยงามปราณีตซึ่งถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย


บริเวณรอบๆโฮมสเตย์ก็จะมีต้นไม้ที่สร้างความร่มรื่นมากมายไม่ว่าจะเป็นไม้ผล อย่างมะพร้าม กระท้อน มะละกอ ขนุน ไม้ดอกอย่าง ชบา ดาวเรือง มะลิ ไม้ประดับอย่าง จันทร์ผา เป็นต้น




แนะนำโฮมสเตย์


แนะนำโฮมสเตย์



กลุ่มดิฉันขอแนะนำ1ใน9โฮมสเตย์ที่ได้รับรางวัลมาตรฐานโฮมสเตย์
ตำบลคลองน้อยมีโฮมสเตย์ 9 หลังคาเรือนซึ่งได้รับรองความเป็นโฮมสเตย์ที่มีมาตรฐานจากกรมการท่องเที่ยว โดย9หลัง มีบ้านที่เป็นโฮมสเตย์คือ
   -  คุณจรรยา   ยี่สิบ                           -  คุณมณีรัตน์       ลาวัณย์วัฒนกุล
   -  คุณผัน        จงอักษร                     -  คุณเชาวลิต        ทับทิม
   -  คุณสุจิน      ขุนปักษี                     -  คุณดลพร          ชูเพ็ญ
   -  คุณพิพัฒน์   มีวงค์                         -  คุณพิเชษฐ์        เนตรเจริญ
   -  คุณวิโรจน์   กลางรักษ์

โดยโฮมสเตย์หลังที่กลุ่มของดิฉันได้ทำการศึกษาคือ โฮมสเตย์ของคุณป้าดลพร  ชูเพ็ญ ซึ่งโฮมสเตย์แห่งนี้มีลักษณะคือเป็นบ้านสองชั้นอยู่ติดบริเวณลำคลอง ซึ่งมีทิวทัศน์ที่สวยงาม ร่มรื่นน่าอยู่และคุณป้าดลพรเจ้าของโฮมสเตย์ก็ใจดีมีความเป็นกันเอง ทำให้การศึกษาเป็นไปอย่างเรียบร้อยและสมบูรณ์ โดยโฮมสเตย์หลังนี้ได้รับการประเมิณคุณภาพตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยจากกรมการท่องเที่ยว



โปรแกรมท่องเที่ยวบ้านคลองน้อย


โปรแกรมท่องเที่ยวบ้านคลองน้อย



๏ ตัวอย่างโปรแกรมท่องเที่ยวบ้านคลองน้อย 1 วัน 1 คืน 
เวลา 08.00 - 09.00 น.   รับที่สนามบิน/บขส/สถานีรถไฟ  เก็บของเข้าบ้านพักโฮมสเตย์ รับประทานอาหารเช้าที่บ้านพัก
เวลา 09.00 - 10.00 น. - ชมการทำคันเบ็ดตกกุ้ง  ลงเรือที่ท่าน้ำ  อบต.คลองน้อย
เวลา 10.00 - 10.30 น. - ชมศูนย์ฝึกลิง
เวลา 11.00 - 11.30 น. - ชมต้นไทรเก็บกระดูก และไหว้พระ ณ วัดบุญบันเทิง
เวลา 11.30 -12.30 น.  - ชมอู่ต่อเรือ
เวลา 12.30 - 13.30 น.  - รับประทานอาหารกลางวัน ชมบ้านจาก ผลิตภัณฑ์จากต้นจาก ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว พร้อมนั่งรถไปบ้านตาผัน
เวลา 13.30 - 14.30 น. - ชิมชมกระท้อนหวานของชาวในบาง ชมการสาธิตการห่อกระท้อนตาม แบบฉบับชาวบ้าน
เวลา 14.30 - 16.00 น. - ชมปลาเสือพ่นน้ำอันน่ามหัศจรรย์
เวลา 16.30 - 17.30 น.  - รับประทานอาหารเย็นบ้านโฮมสเตย์
เวลา 17.30 - 19.30 น. - ล่องเรือชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน ชมการตกกุ้งแม่น้ำ ภูมิปัญญาของชาวบ้าน
เวลา 19.30 .                - เข้าที่พักบ้านโฮมสเตย์


** หมายเหตุ โปรแกรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
ชิมชมกระท้อนจะมีตามฤดูกาลของกระท้อน คือช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม  ของทุกปี


๏ ตัวอย่างโปรแกรมท่องเที่ยวบ้านคลองน้อย 2 วัน 1 คืน 
วันที่  1
 เวลา 07.30 - 08.30 น. -  รับที่สนามบิน/บขส/สถานีรถไฟ  เก็บของเข้าบ้านพักโฮมสเตย์ รับประทานอาหารเช้า                                        ที่บ้านพัก
เวลา 08.30 -09.00 น.  - นั่งรถจากบ้านพักไปไหว้พระ ณ วัดบุญบันเทิง ชมต้นไทรเก็บกระดูก
เวลา 09.00 - 11.30 น.  - ชมการสาธิตการฝึกลิงเพื่อขึ้นมะพร้าวของศูนย์ฝึกลิงบ้านคลองน้อย
เวลา 11.30 -12.30 น.   - ชิมชมกระท้อนหวานของชาวในบาง ชมการสาธิตการห่อกระท้อน
เวลา 12.30 - 13.30 น.  - ทานอาหารที่ อบต.คลองน้อย
เวลา 13.30 - 14.30 น.  - ชมปลาเสือพ่นน้ำอันน่ามหัศจรรย์
เวลา 14.30 - 16.00 น.   - ชมการทำคันเบ็ดตกกุ้ง
เวลา 16.30 - 17.30 น.  - รับประทานอาหารเย็นบ้านโฮมสเตย์
เวลา 17.30 - 19.30 น. - ล่องเรือชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน ชมการตกกุ้งแม่น้ำ ภูมิปัญญาของชาวบ้าน
เวลา 19.30 .                - เข้าที่พักบ้านโฮมสเตย์



วันที่ 2
 เวลา 07.30 - 08.30 น.  - รับประท่านอาหารเช้าที่บ้านพักโฮมสเตย์
เวลา 08.30 - 9.30 น.    - นั่งรถไปชมอู่ต่อเรือทีมีมานานคู่ชาวคลองน้อย
เวลา 09.30 -  12.00 น. - นั่งรถต่อไปชมผลิตภัณฑ์จากต้นจาก และชมการสาธิตและร่วมทำขนมจาก                                                    จากชาวบ้าน  พร้อมรับประทานอาหารกลางวัน ชมผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว
13.00 น.   เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ


** หมายเหตุ โปรแกรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
ชิมชมกระท้อนจะมีตามฤดูการของกระท้อน คือช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม  ของทุกปี
4ช่วงเวลาการท่องเที่ยว : กรกฎาคม ถึง กุมภาพันธ์ ของทุกปี
4การเตรียมตัว และข้อพึงปฏิบัติ
 การเตรียมตัวของนักท่องเที่ยว
   -        ควรศึกษาข้อมูลก่อนการเดินทาง
   -        ควรติดต่อจองห้องพักล่วงหน้า
   -        ควรเตรียมยาประจำตัวมาด้วย
   -         อย่าปฏิบัติในสิ่งที่ผิดธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ควรมีการหาข้อมูลก่อนการเดินทาง



กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมการท่องเที่ยว

           เป็นชุมชนที่ใช้ชีวิตริมสองฝั่งคลอง แบบดั่งเดิม ถึงแม้จะอยู่ไม่ไกลจากในเมืองมากนัก  คนภายนอกชุมชนเรียกคนย่านนี้ว่า “ คนในบาง “ ซึ่งชาวชุมชนก็ยอมรับสรรพนาม ดังกล่าว และบอกตัวตนว่า เราเป็นคนในบาง” มีวิถีเหมือนพี่น้องผองชาวสำพรำ (สวนผสมผสาน)

4ล่องเรือชมวิถีชีวิตของชาวคลองน้อย : ชมวิถีชีวิต ริมสองฝั่งคลอง เป็นการเรียนรู้และสัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้การทำ ประมงพื้นบ้านในลำคลอง



4เขตอนุรักษ์ปลาเสือพ้นน้ำ คุณผัน  จงอักษร  ได้เลี้ยงปลาเสือพ่นน้ำมาเป็นเวลากว่า 4 ปี  เพราะตระหนักดีว่าหากไม่มี การดูแลอนุรักษ์ไว้  ปลาชนิดนี้อาจสูญพันธ์ ไปจากตำบลคลองน้อย ซึ่งนักท่องเที่ยว สามารถเข้าเยี่ยมชม  และให้อาหารปลาเสือพ้นน้ำ ซึ่งให้ความเพลิดเพลินอีกรูปแบบหนึ่ง



4กลุ่มผ้าบาติก : คุณเบญญาภา  ขุนวิลัย ได้จัดตั้งกลุ่มผ้าบาติก  ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2543 เพื่อเป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวของสมาชิก เมื่อยามว่างจากการทำสวน ปัจจุบันทางกลุ่มมีความเข็มแข็งสามารถสร้างรายได้ 20,000 – 30,000 บาท / เดือน  จะให้นักท่องเที่ยว ลงมือปฏิบัติ ทำผ้าบาติก ด้วยตนเอง



4อู่ต่อเรือช่างกบ ช่างกบ เป็นช่างต่อเรือฝีมือเอก  ที่มีชื่อเสียงระดับตำบล และระดับจังหวัด โดยได้สืบต่ออาชีพนี้มามากกว่า  3 ชั่วอายุคน และจะสืบต่อให้ลูกหลานต่อไป   โดยเรือออกทะเลแต่ละลำต้องใช้เวลาต่อเป็นแรมเดือน ซึ่งมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การวางกระดองหมึก ใส่ราวคู่ แรกใส่ทวนหัวทวนใต้  ขึ้นดานวางกงยึด  และอีกหลายขั้นตอน ซึ่งมีความน่าสนใจในการศึกษาหาความรู้ภูมิปัญญาของชาวคลองน้อย





4เบ็ดตกกุ้ง : คุณสุนทร  เทพจินดา  เจ้าของภูมิปัญญาการทำคันเบ็ดตกกุ้งแม่น้ำ แบบไม่เหมือนใคร มีทั้งแบบดั่งเดิม แบบคันยาวกลมกลึง เคลือบแล็คเกอร์โชว์ลายไม้  มีทั้งแบบเบา  แบบหนักกระชับมือ ราคาตามเนื้อไม้และความยาว






4สวนผลไม้นานาพันธ์ สวนกระท้อน  : ชิม ชมผลไม้หวาน เช่น มังคุด มะพร้าว ชมพู่ ฝรั่ง มะละกอและ ชิมกระท้อนหวาน ที่ เลื่องชื่อ ของตำบลคลองน้อยเป็นกระท้อนพันธ์ ปุ้ยฝ้าย,อีร้า,กำมะหยี  ชมการสาธิตการห่อกระท้อนที่เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน     


4การสาธิตการฝึกลิงเพื่อการเกษตร : การฝึกลิงเพื่อช่วยเก็บมะพร้าว เป็นภูมิปัญญาที่ควรถ่ายทอด รักษา และพัฒนาให้มีมูลค่าซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ที่น่ามหัศจรรย์ระหว่างผู้ฝึก- ผู้ใช้ – ผู้ว่าจ้าง มิใช่การเลี้ยงแบบใช้แรงงานทรมานสัตว์ขาดความเมตตา กรุณา แต่เป็นเสมือนหนึ่งของครอบครัว การฝึกลิง มี 4 หลักสูตร ด้วยกันจึงจะสามารถเก็บมะพร้าวได้  1) การเข้าปั่น  2) การห้อยปั่น 3 )การขึ้นราว และ 4 ) การขึ้นต้นจริง โดยผู้ฝึกจะต้องเป็นผู้รักลิง  และมีความอดทนสูง



4บ้านจาก : คุณจำนง  หนูมาศ  ผู้ซึ่งได้รวบรวมประโยชน์ของต้นจาก ให้เป็นรูปธรรม  โดยต้นจากมีประโยชน์หลายประการ  ใบสามารถนำมาห่อขนมจาก  มุงหลังคา พาชนะตักน้ำ  ทำมวนยาสูบ ลูกจากสามารถรับประทานสด  ทำขนม  ต้นจากช่วยให้ชาวบ้านในบางมีรายได้ โดยเฉพาะคนชรา  สามารถเย็บจากรายได้ค่าขนมหลาน ไม่ต่ำกว่า 4,000 บาท อีกทั้งก่อจากช่วยป้องกันการเซาะพังของตลิ่งได้ดีกว่าเขื่อนซีเมนต์




4กลุ่มผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว : กลุ่มผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว ของนางสุวรรณี  ณ พัทลุง  ได้นำกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นเศษวัสดุที่เหลือใช้จากมะพร้าว สามารถนำมาประดิษฐ์ เป็นงานศิลปะ  และของใช้ได้อย่างหลากหลาย เช่นโคมไฟ  กระบวยตักน้ำ ช้อน ซ้อม ทัพพี สามารถซื้อหาได้เป็นของขวัญ ของฝากแก่ญาติสนิท มิตรสหายได้




4วัดบุญบันเทิง ,  ต้นไทรเก็บกระดูก วัดนี้สร้างขึ้น  เมื่อ พ.ศ. 2378 มีพระพุทธรูปหลวงปู่ซ่อนเป็นที่เคารพของชาวบ้าน และบริเวณท่าน้ำมีต้นไทรยืนต้นอายุกว่า 200 ปี ในอดีตเป็นแหล่งรวมจิตใจของชาวคลองน้อย ซึ่งชาวบ้านจะเอาอัฐิบรรพบุรุษฝากไว้บนต้นไทร ให้รุกเทวดาคอยปกป้องรักษา และในช่วงเทศกาลบุญเดือนสิบของทุกปี  ชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่ต้นไทรเพื่อทำบุญให้บรรพบุรุษ



4บ้านพักโฮมสเตย์ตำบลคลองน้อย มีบริการบ้านพัก ไว้รองรับนักท่องเที่ยว  จำนวน 9  หลัง ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์  เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากใกล้ชิดวิถีชีวิตของชาวในบางอย่างแท้จริง  ค่าบริการคืนละ 100 บาท ค่าอาหารมื้อละ 100 บาท แต่จะต้องมีการสำรองห้องพักล่วงหน้าก่อนเข้าพัก อย่างน้อย 1 วัน



ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา 




                         ตำบลคลองน้อย  แรกเริ่มเดิมมีชื่อว่า “ตำบลป่าเหล้า”  โดยการตั้งชื่อตามเจ้าที่คือ  พ่อตาเหล้า   แม่ยายเศร้าสร้อย   โดยเอาชื่อของตามาตั้งคือ  พ่อตาเหล้า  มาตั้งเป็นชื่อตำบลป่าเหล้า  เพราะสภาพในตอนนั้นเป็นป่ามาก   ตำบลป่าเหล้า  มีกำนันคนแรกชื่อ    ขุนรัตนมาล  เป็นกำนันจนครบเกษียณอายุราชการ  ต่อมามี  พันเขียน  เทพพิพิธ  เป็นกำนันแทน  สมัยนั้นมีการตั้งเป็นก๊กอั้งยี่ (เจ้าพ่อในปัจจุบัน)  สามารถคุ้มครองหมู่บ้านได้  และมีลูกบ้านเป็นสมาชิก  ถ้าหากใครเป็นสมาชิกจะมีที่ตักน้ำซึ่งเรียกว่า  หมาตักน้ำ (ทำด้วยกาบหมาก)   แขวนไว้ที่หน้าบ้านริมคลอง การปกครองสมัยนั้นบ้านเมืองยุ่งเหยิงมาก  และกำนันได้ถูกทางราชการจับตัวไปทิ้งที่แม่น้ำโขง (ตามข่าวที่ทราบ)  เมื่อสิ้นสมัยของ  พันเขียน  เทพพิพิธ  บุตรชายพันเขียน  เป็นกำนันแทน  และได้เปลี่ยนชื่อตำบลป่าเหล้ามาเป็นตำบลคลองน้อย  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  9  หมู่บ้าน    การตั้งถิ่นฐานมีขึ้นตั้งแต่เมื่อใด  ไม่ทราบ  ชาวบ้านตำบลคลองน้อย  มีทั้งคนพื้นเพดั้งเดิมและคนที่อพยพถิ่นฐานมาจากที่อื่น  เช่น  เพชรบุรี  ราชบุรี  นครปฐม  และสมุทรสาคร  ซึ่งภาษาพูดมีทั้งภาษากลางและภาษาท้องถิ่นของภาคใต้    ประเพณีดั้งเดิม    มีการทำบุญเดือนสิบ  วันสงกรานต์  วันปีใหม่  วันตรุษไทย  การบวชนาค  เป็นต้น



               ตำบลคลองน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ  ประมาณ  9  กิโลเมตร (ทางรถยนต์)   แบ่งการปกครองออกเป็น  9  หมู่บ้าน    เป็นพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทั้งตำบล  มี ประชากร ทั้งสิ้น  3,669 คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,141  ครัวเรือน

 ลักษณะภูมิประเทศ ตำบลคลองน้อยมีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ  มีแหล่งน้ำธรรมชาติกระจายอยู่ทั่ว  มีแม่น้ำและ ลำคลองล้อมรอบหลายสาย  มีเนื้อที่ทั้งตำบล ประมาณ 18,125  ไร่  หรือ  29  ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ           ติดกับ   ตำบลบางโพธิ์  อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้                ติดกับ   ตำบลบางไทร และตำบลบางใบไม้  อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันออก     ติดกับ   คลองพุนพิน อำเภอพุนพิน  และตำบลบางโพธิ์ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันตก      ติดกับ   แม่น้ำตาปี อำเภอพุนพิน และตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี